1. พินัยกรรมแบบธรรมดา มาตรา 1656
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ มาตรา 1657
3. พินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง มาตรา 1658
4. พินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารลับ มาตรา 1660
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา มาตรา 1663
6. พินัยกรรมที่คนไทยทำในต่างประเทศ มาตรา 1667
7. พินัยกรรมที่ข้าราชการทหารหรือทำการเกี่ยวข้องกับราชการทหารทำระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม มาตรา 1669
หลักทั่วไที่ใช้กับแบบของพินัยกรรม
- ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดา(มาตรา 1656) แบบเอกสารฝ่ายเมือง(มาตรา 1658) และแบบเอกสารลับ(มาตรา 1660) นั้นต้องมีลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมก็อาจลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนลายมือชื่อก็ได้ทั้งนี้ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นในขณะนั้นด้วยสองคน
แต่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ(มาตรา 1657) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อเท่านั้นจะลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนไม่ได้ ส่วนพินัยกรรมที่ทำด้วยวาจา(มาตรา 1663) ผู้ทำพินัยกรรมไม่ต้องลงลายมือชื่อ
- ลายมือชื่อพยาน
พยานในพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อเท่านั้นห้ามลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนลายมือชื่อ(มาตรา 1666) พยานในการทำพินัยกรรมและพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออาจเป็นชุดเดียวกันก็ได้โดยไม่ต้องระบุว่าเป็นพยานฐานะใด เว้นแต่ปรากฎโดยชัดแจ้งว่าลงลายมือในฐานะใดเพียงฐานะเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2505 พินัยกรรมแบบธรรมดา มีพยาน 4 คนลงลายมือชื่อไว้ท้ายลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก แต่ปรากฏว่าก่อนถึงลายเซ็นของพยานมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าผู้สั่งพินัยกรรม ได้ลงชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้าด้วย ดังนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยตรงต่างหากอีก
และบุคคลที่เป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้ ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คนวิกลจริต คนเสมือนไร้ความสามารถ คนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง ซึ่งถ้าบุคคลเหล่านี้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมก็ไม่มีผลว่าเป็นพยานที่กฎหมายรับรอง เสมือนหนึ่งว่าไม่มีคนๆนั้นเป็นพยาน
- ลายมือชื่อผู้เขียนพินัยกรรมและผู้เขียนในฐานะพยาน
ผู้เขียนพินัยกรรม(รวมถึงผู้พิมพ์ด้วย)ต้องลงลายมือชื่อของตนลงในพินัยกรรม และระบุว่าเป็นผู้เขียน(หรือพิมพ์)พินัยกรรมฉบับนั้น และถ้าผู้เขียนเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยก็ให้ระบุไปด้วยว่าเป็นพยาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น