![]() |
ขอบคุณภาพจาก Pithawat Vachiramon |
ราษฎรจับคนร้าย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79 กล่าวไว้ว่า "ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย"
จะเห็นว่ามี 2 เงื่อนไขที่กฎหมายให้อำนาจประชาชนอย่างเราจับคนร้ายได้ คือ 1. มาตรา 82 เจ้าพนักงานขอให้ช่วยจับตามหมายจับ หรือ 2. เป็นความผิดตามที่กฎหมายกำหนดและเราเห็นว่ามีการกระทำผิดนั้นซึ่งหน้า
1. เจ้าพนักงานขอให้ช่วยจับตามหมายจับ
มาตรา 82 ท่านว่าไว้ว่า "เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้ แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้"
หมายความว่า คนร้ายถูกออกหมายจับแล้ว ตำรวจหรือเจ้าพนักงานมาขอความช่วยเหลือให้เราช่วยจับคนร้าย แต่ตำรวจจะมาบังคับให้เราไปจับสิๆ ทั้งที่คนร้ายมีปืนแต่เรามีมือเปล่าแบบนี้ไม่ได้นะ
2. เป็นความผิดตามที่กฎหมายกำหนดและเราเห็นว่ามีการกระทำผิดนั้นซึ่งหน้า
ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้เราจับได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่
1) ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล
2) ขบถภายในพระราชอาณาจักร
3) ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร
4) ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
5) ทำอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ
6) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
7) หลบหนีจากที่คุมขัง
8) ความผิดต่อศาสนา
9) ก่อการจลาจล
10) กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน
11) กระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกันและกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย
12) ปลอมแปลงเงินตรา
13) ข่มขืนกระทำชำเรา
14) ประทุษร้ายแก่ชีวิต
15) ประทุษร้ายแก่ร่างกาย
16) ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ
17) ลักทรัพย์
18) วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด
19) กรรโชก
แล้วอย่างไรเรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น มาตรา 80 ท่านว่าไว้ว่า "ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดังระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้
(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดังผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
(2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น"
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2530
กรณีที่มิใช่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ราษฎรย่อมไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมผู้กระทำความผิด ดังนั้น การที่ ข.กับผู้ตายซึ่งเป็นเพียงราษฎรจะเข้าจับกุมจำเลยภายหลังเกิดเหตุจำเลยทำร้ายผู้อื่นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันเพื่อให้พ้นจากการที่จะต้องถูกจับได้ แต่การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้ตายที่หน้าอกส่วนล่างใต้นมเหนือชายโครงซ้าย และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนเกิดเหตุนั้นเอง แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรง และเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยเลือกแทงที่อวัยวะสำคัญ โดยไม่ปรากฏว่า ช.กับผู้ตายมีอาวุธหรือแสดงอาการในลักษณะที่จะทำร้ายจำเลยนอกเหนือจากการกระทำเพื่อจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตาม
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุแต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าไม่เป็นการป้องกันอย่างไรเลย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยได้ เห็นว่าการกระทำของจำเลยในตอนต้นเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันตัวและทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ เพราะผู้ร้ายยิงมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในที่อันตรายและเป็นการจวนตัว จำเป็นต้องป้องกันแล้ว
ส่วนในตอนที่ 2 ที่ผู้ร้ายทิ้งกระบือวิ่งหนีไปแล้ว ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยมิได้ไล่ยิงผู้ร้าย ต่อเมื่อผู้ร้ายกลับยิงต่อสู้มายังจำเลยอีก จำเลยจึงจำเป็นต้องยิงป้องกันตัวไปบ้าง แล้วไปถูกผู้ร้ายตายอีกคนหนึ่ง การกระทำในตอนนี้ถึงจะไม่เป็นการป้องกันทรัพย์ก็เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะจำเลยไม่ได้ไล่ตามยิง ไล่ตามจับต่างหาก ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 79 จำเลยมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อไล่ตามจับผู้ร้ายกลับยิงมาอีก จำเลยก็ยิงป้องกันตัวได้ ไม่เรียกว่าเกินสมควรแก่เหตุ จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป
อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าจะจับคนร้ายได้ ไม่มีแรงหรือกำลังเพียงพอที่จะสู้คนร้ายได้ ก็อย่าเอาชีวิตตัวเองไปเสี่ยงดีกว่า ด้วยความปราถนาดีจาก The Thai Lawyer ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2485
ได้ความว่าผู้ตายกับพวกมีปืนและตะบองเป็นผู้ร้ายมาไล่ต้อนกระบือของจำเลยที่ 1 ไปจำเลยทั้งสามกับพวกได้พากันออกติดตามจำเลยมีปืนคนละกะบอก ตามทันผู้ตายกับพวกขณะกำลังพากระบือไป พวกผู้ตายคนหนึ่งมีปืนยาว อีก 2 คนถือไม้ คนร้ายที่มีปืนได้ยิงมาก่อน 1 นัด แล้วทิ้งกระบือพากันวิ่งหนีจำเลยทั้งสามได้ยิงตอบไปถูกคนคนหนึ่งคือนายลีล้มลงนอนตายอยู่ จำเลยวิ่งไล่กวดคนร้ายอีกสองคนต่อไป คนร้ายยิงมาอีก 1 นัด จำเลยยิงพลางไล่ไปพลาง กะสุนปืนถูกคนร้ายอีกคนหนึ่ง คือนายยนตร์ล้มลงตาย จำเลยจึงหยุดไล่โดยเหนื่อย พวกจำเลยไม่บาดเจ็บและได้กระบือที่ผู้ร้ายลักไปคืน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ตายเป็นผู้ร้ายพาเอากระบือไป จำเลยได้ติดตามทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงโดยผู้ร้ายยิงมาก่อน 1 นัด แล้วก็ทิ้งกระบือวิ่งหนีไป การป้องกันทรัพย์ของจำเลยเป็นอันหมดไปแล้ว กระบือคงอยู่ที่นั้นไม่ไปไหน แต่จำเลยกับพวกยังไล่ยิงตามไปอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ พิพากษาว่าจำเลยผิดตามกฏหมายอาญามาตรา 249,53,59, จำคุก 1 ปีจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตาม
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุแต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าไม่เป็นการป้องกันอย่างไรเลย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยได้ เห็นว่าการกระทำของจำเลยในตอนต้นเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันตัวและทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ เพราะผู้ร้ายยิงมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในที่อันตรายและเป็นการจวนตัว จำเป็นต้องป้องกันแล้ว
ส่วนในตอนที่ 2 ที่ผู้ร้ายทิ้งกระบือวิ่งหนีไปแล้ว ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยมิได้ไล่ยิงผู้ร้าย ต่อเมื่อผู้ร้ายกลับยิงต่อสู้มายังจำเลยอีก จำเลยจึงจำเป็นต้องยิงป้องกันตัวไปบ้าง แล้วไปถูกผู้ร้ายตายอีกคนหนึ่ง การกระทำในตอนนี้ถึงจะไม่เป็นการป้องกันทรัพย์ก็เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะจำเลยไม่ได้ไล่ตามยิง ไล่ตามจับต่างหาก ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 79 จำเลยมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อไล่ตามจับผู้ร้ายกลับยิงมาอีก จำเลยก็ยิงป้องกันตัวได้ ไม่เรียกว่าเกินสมควรแก่เหตุ จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป
อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าจะจับคนร้ายได้ ไม่มีแรงหรือกำลังเพียงพอที่จะสู้คนร้ายได้ ก็อย่าเอาชีวิตตัวเองไปเสี่ยงดีกว่า ด้วยความปราถนาดีจาก The Thai Lawyer ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น